SLC ซื้อหุ้น Nation หวั่นครอบงำธุรกิจสื่อทีวีดิจิตอล
SLC ซื้อหุ้น Nation หวั่นครอบงำธุรกิจสื่อทีวีดิจิตอล
กลายเป็นประเด็นร้อนแรงขึ้นมาอีกครั้งในวงการช่องทีวีดิจิตอล หลังจากที่ทางบริษัท โซลูชั่นคอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) หรือชื่อย่อว่า SLC ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ ได้เข้าไปถือหุ้นบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG ร้อยละ 12.27 ซึ่งมีมูลค่า 1,042 ล้านบาท และได้ไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ออกใหม่ของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAMMY 10 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 13.50 บาทอีกด้วย
ผลพลวงก็คือปัจจุบันบริษัท SLC เข้าไปมีส่วนกับสือทีวีดิจิตอลถึง 4 แห่งด้วยกัน คือ GMM Grammy ที่มีช่องทีวีดิจิตอล 2 ช่องคือ ONE และ GMM นำเสนอเนื้อหาบันเทิงเป็นหลัก ช่องต่อมาคือ เนชั่นทีวี ที่เป็นรายการข่าว ช่อง ทีนิวส์ ซึ่งเป็นช่องรายการข่าวทีวีดาวเทียม และช่องสปริงนิวส์ ที่มุ่งเน้นเนื้อหาข่าวเป็นหลักช่นกัน
การเข้าไปซื้อหุ้นช่องทีวีดิจิตอลในครั้งนี้ ส่งผลให้ทาง กสทช. ต้องบรรจุวาระการประชุมเพื่อพิจารณาการถือหุ้นไขว้ของ SLC ในช่องเนชั่นและแกรมมี่ว่าผิดหลักเกณฑ์เงื่อนไขใบอนุญาตการประมูลหรือไม่
เรื่องนี้ทางคุณสุภิญญาเทียบเคียงได้กับก่อนหน้าการประมูลช่องทีวีดิจิตอลที่หากช่อง 7 เข้าประมูลพร้อมๆกับบริษัทจันทร์ 25 ก็จะทำให้ทั้งสองบริษัทผิดเงื่อนไขการประมูลและทำให้ต้องตกไปทั้งสองบริษัท และในที่สุดทางจันทร์ 25 ก็ได้ถอนตัวออกไป
ทั้งนี้ทาง กสทช. ได้กำหนดเอาไว้ว่า การถือหุ้นเกินร้อยละ 10 ในช่องทีวีช่องอื่นหรือการถือหุ้นไชว้เกินร้อยละ 10 นั้นจะเข้าข่ายการมี ผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งขัดเงื่อนไขการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอล ซึ่งหากเป็นการซื้อหุ้นก่อนการประมูลก็จะตรวจสอบได้และให้บริษัทนั้นๆ ไม่สามารถเข้าประมูลได้ทันที
แต่การมาซื้อหุ้นทีหลังนั้นทำให้ทาง กสทช. ต้องมาพิจารณา โดยเฉพาะในประเด็นของ NMG หรือเนชั่น ที่ถือหุ้นราว 12.27% อันนับว่าผิดกติกาแน่นอน ส่วนการถือหุ้นใน GMM เพียง 1.22% นั้นยังไม่เข้าข่ายในเชิงตัวเลขที่เป็นการถือหุ้นทางตรงที่ไม่ใช่นอมินี
เครือเนชั่น (NMG) ถือหุ้นในNBC (ช่องข่าว) 71.30% ถือในเอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น (ช่องวาไรตี้) 99.99% ส่วน SLC ถือในช่องข่าวสปริงนิวส์ 99.99% ซึ่งเป็นข้อมูลการเปลี่ยนแปลงหุ้นของบริษัทที่รับทราบการผ่านสื่อเท่านั้น บริษัทเหล่านี้ยังไม่ได้แจ้งให้ทาง กสทช. ทราบ กสทช. จึงได้เริ่มมีการบรรจุวาระการประขุมเพื่อให้บริษัทเหล่านี้ส่งเอกสารเข้ามาชี้แจง ก่อนที่จะได้มีการลงมติว่าขัดต่อข้อกำหนดด้านการประมูลช่องทีวีดิจิตอลหรือไม่ต่อไป
ผลการประชุมบอร์ด กสท. เมื่อวันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม ที่ผ่านมาก็ยังไม่เป็นเอกฉันท์ในประเด็นการเข้าซื้อหุ้นของ SLC ทาง บอร์ กสท. สรุปประเด็นได้เพียงว่ามีมูล และมอบหมายให้ทาง สำนักงาน กสทช. ทำบทวิเคราะห์เพิ่มเติมต่อไป
ผลการประชุมที่ไม่เป็นเอกฉันท์นั้นมีประเด็นให้ต้องพิจารณาคือ กรณีการถือหุ้นของ SLC ในเครือ NMG ถือว่าขัดเงื่อนไขของผู้ขอรับใบอนุญาตก่อนการประมูลหรือไม่ ส่วนอีกประเด็นหนึ่งก็คือ อีกประเด็นเห็นต่างคือ SLC นั้นคนละนิติบุคคลกับบริษัทสปริงนิวส์ แม้จะเป็นบริษัทแม่ก็ตาม แต่ไม่ใช่ผู้รับใบอนุญาตตรง ก็จะกลายเป็นว่าเป็นการมองปัญหาเหมือนกรณีช่อง 3 ที่ผ่านมา
เรื่องนี้คุณสุภิญญา กรรมการ กสท. มองว่าแม้ SLC / NMG จะเป็นบริษัทแม่หรือบริษัทย่า ไม่ได้เป็นผู้รับใบอนุญาตตทีวีโดยตรง แต่ถ้าคือผู้ถือหุ้นที่แสดงความป็นเจ้าของ/ควบคุมกิจการ ก็มีนัยยะสำคัญ ที่ผ่านมาเวลา สนง.หรือบอร์ดวิเคราะห์ เราจะดูตลอดสายธารของการถือหุ้น/ความเป็นเจ้าของ/การควบคุมอยู่แล้ว ไม่ได้ดูเฉพาะบริษัทที่รับใบอนุญาตทีวี ที่สำคัญเงื่อนไขก่อนการประมูลนั้นสัมพันธ์กับเงื่อนไขของผู้รับใบอนุญาต วันนี้ สนง.วิเคราะห์ว่าถ้าการถือหุ้นแบบวันนี้ อาจถูกตัดสิทธ์การประมูล
โดยข้อเท็จจริงแล้ว SLC/NMG/GMM ในฐานะบริษัทแม่หรือย่า ก็คล้าย BEC World ที่ถือหุ้นใหญ่ใน บางกอกฯ และ BEC Multimedia เราต้องเชื่อมโยงทั้งหมด จริงอยู่ การตีความแบบนี้อาจทำให้เกิดปัญหากับใบอนุญาตช่องในเครือเนชั่นฯและสปริงนิวส์ แต่ถ้าขัดกติกาที่วางไว้ก่อนการประมูล ก็อาจขัดกฏหมายได้ ถ้าเรายึดแต่ชื่อนิติบุคคลแตกต่างกันอย่างเดียว โดยไม่โยงความสัมพันธ์ทั้งหมด จะเกิดปัญหาไม่รู้จบอีกหลายเรื่องในกิจการโทรทัศน์หลังจากนี้
กติกาของ กสทช. กำหนดให้หนึ่งบริษัทประมูลคลื่นได้ไม่เกิน 3 ช่อง แต่ถ้าเราดูแต่ชื่อนิติบุคคลอย่างเดียว โดยไม่ดูการถือหุ้น มันก็ไร้ประโยชน์ เพราะสุดท้าย แม้ชื่อนิติบุคคลของ17บริษัทแตกต่างกันจริง แต่ถ้าดูเนื้อในแล้วพบความเชื่อมโยงเรื่องผลประโยชน์ผ่านผู้ถือหุ้น มันก็ขัดเจตนารมณ์
อย่างไรก็ตาม กรณีนี้บอร์ด กสท. ก็ต้องเปิดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ชี้แจงข้อมูล ข้อเท็จจริง ก่อนที่จะลงมติไปทิศทางใด จึงให้ สนง.ไปทำงานเพิ่ม ประเด็นนี้บอร์ด กสท.เสียงแตกตั้งแต่ยกแรก ยังไม่รู้ว่าผลสรุปจะออกมาอย่างไร แต่คาดเดาได้ว่าคงไม่เอกฉันท์เช่นเดิม เป็นปรกติของเรื่องใหญ่ๆ คุณสุภิญญากล่าวทิ้งท้าย
Leave a comment
You must be logged in to post a comment.