ทิ้งทีวีเก่า สร้างปัญหาใหม่
ประเด็นปัญหาอันหนึ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับการเปลี่ยนแปลงจากระบบส่งสัญญาณแบบอนาลอกเป็นดิจิตอลก็คือ ประชาชนจะพากันทิ้งทีวีเครื่องเก่าที่ยังใช้งานได้อยู่ เพื่อไปซื้อเครื่องใหม่ด้วยเหตุผลว่า ทีวีเครื่องเก่าดูได้ก็จริง แต่อยากดูแบบความคมชัดสูงก็ต้องซื้อทีวีรุ่นใหม่ๆเท่านั้น
ผลที่ตามมาก็คือขยะทีวีเป็นจำนวนมาก นอกจากมีภาระให้หน่วยงานเทศบาลหรือ อบต ต้องเก็บกวาดฝังกลบแล้ว ทำแค่นั้นอาจจะไม่เพียงพอเพราะอาจจะไม่ใช่ขยะธรรมดา แต่เป็นขยะมีสารปนเปื้อนอยู่เสียนี่ แล้วเราจะทำอย่างไรกับทีวีเครื่องเก่าเป็นล้านๆเครื่องที่คาดว่าประชาชนอาจจะไม่ต้องการ
กสทชก็คงจะได้เล็งเห็นปัญหานี้ สิ่งที่ทำได้ในเชิงหลักการก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบการออกอากาศ ทำการออกอากาศควบคู่กันไปก่อนทั้งสองระบบ เพราะประชาชนส่วนใหญ่อาจจะมีกำลังซื้อ กล่องแปลงสัญญาณ set top box ไม่ครบตามจำนวนเครื่องรับโทรทัศน์ระบบเก่าที่มีอยู่เดิม การออกอากาศทั้งสองระบบคือระบบอนาลอกและระบบดิจิตอลไปพร้อมๆกันนั้น จะทำให้ผู้ชมสามารถรับชมทีวีทุกเครื่องได้เหมือนเดิม และนอกจากนี้นโยบาย Roll out ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้การขยายตัวของบริการโทรทัศน์ดิจิตอลทำเป็นระยะๆ จนครอบคลุมทั้งประเทศ นโยบายทั้งสองข้อก็จะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป น่าจะเป็นผลให้ไม่มีการทิ้งทีวีเครื่องเก่ากันตูมเดียวกองเป็นภูเขากันทั้งประเทศ
ในแง่มุมของผู้บริโภคแล้ว กสทช ได้วางแนวทางให้ประชาชนได้ใช้ทีวีเครื่องเดิมในการรับชมทีวีดิจิตอลโดยไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากนัก อันจะเป็นผลให้มีการลดปัญหาขญะไปในตัว กสทช กำหนดแผนสนับสนุนการซื้อกล่องแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาลอกหรือ set-top-box โดยอาจจะช่วยเหลือประชาชนในรูปของคูปองที่มีมูลค่าใช้แลกซื้อกล่องแปลงสัญญาณ ทำให้ไม่ต้องทิ้งทีวีเครื่องเก่าในทันที และสามารถใช้ทีวีเครื่องเก่าจนหมดอายุการใช้งานของมัน อย่างน้อยก็ช่วยลดปัญหาขยะไปได้ในช่วงระยะเวลาที่ยาวขี้น
ครับยังไงก็ต้องช่วยรณรงค์การใช้ทีวีเครื่องเก่าเพื่อรับชมทีวีดิจิตอลกันนะครับ หาซื้อเครื่องที่ชม HD ได้แค่ซักเครื่องสองเครื่องต่อบ้านก็พอ ที่เหลือก็ควรจะใช้ดูเหมือนเดิม อาจจะนำเครื่องเก่าไปติดตั้งในครัว ห้องทานอาหาร หรือมุมพักผ่อนอื่นๆของบ้านก็จะเป็นการช่วยลดขยะอีกทางหนึ่งนะครับ
Leave a comment
You must be logged in to post a comment.